ReadyPlanet.com
dot
dot
หลักสูตรอบรม
dot
bulletออทิสติก
bulletสติปัญญา
bulletร่างกายหรือสุขภาพ
bulletการเรียนรู้
bulletพฤติกรรมและอารมณ์
bulletภาษาและการสื่อสาร
bulletการเห็น
bulletการได้ยิน
bulletพิการซ้อน
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
bulletศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง
bulletโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
bulletสถิติการศึกษา สพฐ.
dot
Newsletter

dot


เพลง
สมาคมวิจัยทางการศึกษาพิเศษ
ดวง
ประสาทสัมผัส
ออทิสติก
ดาวน์โหลด
วิจัย พิเศษ


การได้ยิน

 

หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
 
    บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

      1) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน 90เดซิเบลขึ้นไป สื่อสารโดยใช้ภาษามือเป็นหลัก

2) คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูดผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ลงมาถึง 26 เดซิเบล สามารถสื่อสารโดยใช้การพูดเหมือนคนทั่วไป

ประเทศไทยมีบุคคลที่บกพร่องทางการได้ยินขึ้นทะเบียนคนพิการ จำนวน 352,503 คน คิดเป็นร้อยละ 18.40 หรือ หนึ่งในห้าของความพิการทั้งหมด (กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, 2561) โดยเด็กเกิดใหม่ประมาณ 2 ถึง 3 ใน 1,000 คน เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเช่นเดียวกับข้อมูลของสถาบันแห่งชาติด้านบกพร่องทางการได้ยินและความบกพร่องทางการสื่อสาร อื่น ๆ (National Institute on Deafness and Other Communication Disorders: NIDCD, 2015) พบว่า ประมาณ 2 ถึง 3 ใน 1,000 คน ของคนที่เกิดใหม่ของประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีหูข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างสูญเสียการได้ยินและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมากกว่าร้อยละ 90 เกิดจากพ่อแม่ที่มีการได้ยิน 

        สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน    National Technical Institute for the Deaf: NTID, 2018) สังเคราะห์ผลการวิจัยด้านนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของวิธีการจัดการศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกำลังได้รับการศึกษา การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าควรมีล่ามที่มีคุณภาพในชั้นเรียนรวม นักการศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีการเรียนรู้และกระบวนการนับส่งข้อมูลของสมองมีความแตกต่างกับเพื่อนนักเรียนที่มีการได้ยินในวัยเดียวกัน NTID นำเสนอว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นนักเรียนที่เรียนรู้จากการมองเห็น (Visual learner) และมีความจำจากมิติสัมพันธ์ทางการเห็นดีมาก (Visual-spatial memories) ครูควรมีการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แผนภูมิ ไดอะแกรมหรือสื่อที่ทำให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมองและเข้าถึงองค์ความรู้ที่ครูสอนได้ และพบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีปัญหาการจำลำดับหรือเรียงลำดับก่อนหลัง (Sequential memory) และมีปัญหาการเคลื่อนไหว การทรงตัว ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว

ดังนั้นการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยผู้ปกครองมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญมาก การจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นทั้งการปรับหลักสูตร วิธีการสอน การเพิ่มเวลา การสอนซ้ำ การสื่อสารผ่านล่ามภาษามือหรือทักษะการใช้ภาษามือของครู และวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นรายบุคคล ทำให้นักเรียนหูหนวกมีความสุขกับการเรียนรู้

 เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561).ผลการจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ. กรุงเทพ:                       กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
National Technical Institute for the Deaf. (2018). Deaf Education: A New Philosophy. Retrieved                   May 13, 2018. From https://www.bbc.com/news/science environment-26925271.
  
ตัวอย่างคลิปวีดิทัศน์ เกี่ยวกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง